วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีทำขนมเสน่ห์จันทร์


ส่วนผสม 
แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วยตวง แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง ไข่ไก่ 2 ฟอง ผงจันป่น 1/2 ช้อนชา สีผสมอาหารสีเหลือง
วิธีทำ 
1. ผสมแป้งทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน 
2. ผสมหัวกะทิกับน้ำตาล ละลายแล้วกรองผสมแป้งกับกะทิ และผงจันป่นสีเหลือง 
3. ตั้งไฟอ่อน กวนจนจับกัน 
4. ไข่ไก่ใช้แต่ไข่แดง ใส่ขณะแป้งร้อน รีบคนให้เข้ากัน ยกลง 
5. พอขนมอุ่นปั้นได้ ให้ปั้นเป็นรูปผลจัน ตรงขั้วผลใช้น้ำตาลเคี่ยวสีน้ำตาลหยอด



วิธีทำขนมทองเอก




ส่วนผสมทองเอก (ขนมไทย)

1. แป้งสาลี (บัวแดง) 1/2 ถ้วย
2. ไข่แดงไข่ไก่ 6 ฟอง
3. น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
4. กะทิ (กะทิกล่อง 3/4 ถ้วย + น้ำ 1 ถ้วย) 1 ถ้วย

วิธีทำทองเอก (ขนมไทย)

1. อ่างใส่แป้งสาลี น้ำตาล กะทิ 1/2 ส่วน ค่อยๆ ใส่ ใช้พายยางคนให้เข้ากัน ให้น้ำตาลละลายใส่ไข่แดงผสมกะทิ 1/2ส่วนที่เหลือ คนให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าข้าวบางเทใส่กะทะทอง คนก่อนขึ้นตั้งไฟทุกครั้ง (ส่วนผสมนอนก้น) ใช้ไฟอ่อนที่สุด กวนช้าๆ เป็นวงกลม พอส่วนผสมเริ่มข้นขึ้น กวนแบบชักขึ้นลงช้าๆ (ไม่กระชาก) 
2. การกวนขนม – ใช้มือแต่ข้างกะทะทองเพื่อตรวจดูอุณหภูมิ ถ้าร้อนเกินมือจับได้ ยกลงวางบนถาดที่มีผ้าเปียกน้ำ กวนขนมต่อไป จนรู้สึกว่ากะทะเริ่มเย็นตัวลง ยกขึ้นตั้งไฟใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ใช้เวลากวนประมาณ 2-3 ชม. ดูแป้งข้นเหนียว ยกลงจากเตา ใช้พายไม้เกลี่ยให้เย็นตัว แบ่งส่วนผสมอัดลงพิมพ์ (ทองเอก) เคาะออกจากพิมพ์บนเขียงที่ปูด้วยผ้าข้าวบาง ใช้ทองแปะตรงกลางขนม วางใส่จาน นำไปอบควันเทียนในรังถึง 


วิธีทำขนมฝอยทอง



เครื่องปรุง+ส่วนผสม* ไข่เป็ด 5 ฟอง
  • ไข่ไก่ 5 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
  • น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า)
  • ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน)
  • น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
  • กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ)
  • ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ)


วิธีทำ1. ต่อยไข่ไก่และไข่เป็ด เลือกเอาเฉพาะไข่แดง นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก
2. ผสมไข่แดง, ไข่น้ำค้างและน้ำมันพืชเข้าด้วยกัน คนจนผสมกันทั่ว
3. นำน้ำลอยดอกมะลิผสมกับน้ำตาลในกระทะทองเหลืองและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือด
4. นำส่วนผสมไข่แดงใส่ลงไปในกรวยและนำไปโรยในน้ำเชื่อมที่เดือด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีจนไข่สุกจึงใช้ไม้แหลม สอยขึ้นและพับให้เป็นแพตามต้องการ
5. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างทางเล่นในวันสบายๆ
* ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน)
* น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
* กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ)
* ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ)






วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ขนมมงคล 9 อย่าง


ทองหยิบ
เป็นขนมมงคล ชนิดหนึ่ง มี ลักษณะ งดงามคล้าย ดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและ ความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ใน การประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อ ขนมทองหยิบ เป็นชื่อ สิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบ พิธีมงคลต่างๆ หรือให้เป็น ของขวัญแก่ใครแล้ว จะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับ การงาน สิ่งใดก็จะ ร่ำรวย มีเงินมีทอง สมดังชื่อ “ทองหยิบ”


ทองหยอด
ใช้ประกอบใน พิธีมงคล ทั้งหลาย หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพรักหรือญาติสนิทมิตรสหาย แทน คำอวยพรให้ ร่ำรวยมีเงินมีทอง ใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ประดุจให้ ทองคำ แก่กัน



ฝอยทอง
เป็น ขนม ใน ตระกูลทอง ที่มีลักษณะเป็น เส้น นิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ด กันว่าห้ามตัดขนมให้สั้นต้องปล่อยให้เป็น เส้นยาว ๆ เพื่อที่ คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่ และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป



ขนมชั้น
เป็นขนมไทยที่ถือเป็นขนมมงคล และจะต้องหยอดขนมชั้นให้ได้ 9 ชั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็น เลขสิริมงคล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า และ ขนมชั้น ก็หมายถึงการได้เลื่อนชั้น เลื่อน ยศถาบรรดาศักดิ์ ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป



ขนมทองเอก 
เป็นขนมในตระกูล ทอง อีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ความ พิถีพิถันเป็นอย่างยิ่งในทุก ขั้นตอนการทำ มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่นกว่า ขนมตระกูลทอง ชนิดอื่น ๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม คำว่า “เอก” หมายความถึง การเป็นที่หนึ่ง การใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่างๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญในงานฉลองการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง จึงเปรียบเสมือน คำอวยพร ให้เป็นที่หนึ่งด้วย



ขนมเม็ดขนุน

เป็นหนึ่งในขนมตระกูลทองเช่นกัน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับ เม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วย ถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่า ชื่อของ ขนมเม็ดขนุนจะเป็นสิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนเนื่อง ในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือ กิจการต่าง ๆ ที่ได้กระทำอยู่

ขนมจ่ามงกุฎ
เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า “จ่ามงกุฎ” หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุดแสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งถือเป็นการแสดงความยินดี และอวยพร ให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ขนมเสน่ห์จันทน์
 “จันทน์” เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลสุก สีเหลือง เปล่งปลั่งทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอม ชวนให้หลงใหล คน โบราณ จึงนำความมีเสน่ห์ของ ผลจันทน์ มาประยุกต์ทำเป็น ขนม และได้นำ “ผลจันทน์ป่น” มาเป็นส่วนผสมทำให้มีกลิ่นหอมเหมือนผลจันทน์ ให้ชื่อว่า “ขนมเสน่ห์จันทน์” โดยเชื่อว่าคำว่า เสน่ห์จันทน์ เป็นคำที่มีสิริมงคล จะทำให้มีเสน่ห์คนรักคนหลงดังเสน่ห์ ของผลจันทน์ ขนมเสน่ห์จันทน์ จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรส

ย้อนรอยขนมไทย


ขนมไทยนี้มีมาแต่เมื่อใด                 

ขนมไทยหัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ฯลฯ ที่สามารถปรุงเป็น ขนม ได้มากมายหลายชนิด เช่น อยากได้ กะทิ ก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิ อยากได้ แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆ เช่น บัวลอย กินกันเองในครอบครัว
ขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า “ทอง” เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง
ภายในลานสานฝันมีป้ายนิทรรศการกล่าวถึงที่มาของชื่อ “ขนม” และความเป็นมาของขนมไทย สรุปความได้ว่า คำว่า “ขนม” เพี้ยนมาจากคำว่า “เข้าหนม” เห็นได้จากคำสันนิษฐานของพระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ที่กล่าวว่า

“ขนม คำเดิมเห็นจะมาจาก เข้าหนม เป็นแน่ เพราะ หนม แปลว่า หวาน คือเข้าที่ผสมกับอ้อย น้ำตาล ให้รสหวานขึ้นแล้วจึงเรียกว่า เข้าหนม ที่เรียกขนมนั้น เป็นคำเพี้ยนไป คำตรงต้องเรียกเข้าหนม”

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งมาจากคำภาษาถิ่นอีสานและภาษาลาวที่ปรากฏคำว่า “หนม” เป็นคำกริยาแปลว่า นวด สันนิษฐานว่าเป็นการกล่าวถึงกริยานวดแป้งเวลาจะนำมาทำขนม ส่วน “เข้า” นั้นก็คือ “ข้าว” ตามลักษณะการเขียนแบบโบราณนั่นเอง เข้าหนม จึงหมายความว่า ข้าวที่นำมานวดหรือบดเป็นแป้งเพื่อทำขนมหวาน

ขนมไทยนี้มีมาแต่สมัยโบราณ หลักฐานชั้นเก่าที่สุดที่ค้นพบคือ วรรณคดีสมัยสุโขทัยเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่กล่าวถึง “ขนมต้ม” อันเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ต่อมาในสมัยอยุธยา เริ่มปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงขนมไทยมากขึ้นจากหนังสือ “คำให้การขุนหลวงวัดป่าประดู่ทรงธรรม” ที่กล่าวว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีที่แห่งหนึ่ง ภายในกำแพงเมืองเรียกว่า “ย่านป่าขนม” หมายความว่าเป็นตลาดขายขนมโดยเฉพาะ มีชื่อขนมปรากฎในบันทึกคือ ขนมชะมด ขนมกงเกวียน ขนมภิมถั่ว และขนมสำปะนี

ขนมไทยมาเฟื่องฟูมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสนาม ดอญ่า มารี กีมาร์ (Dona Marie Guimar) หรือที่คนอยุธยาในสมัยนั้นรู้จักกันในชื่อ “ท้าวทองกีบม้า” ได้สอนให้ชาววังทำของหวานต่างๆ โดยนำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ จนกลายเป็นขนมไทยยอดนิยมอย่างขนมทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เป็นต้น